ขวัญใจชาวไทย

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

การพัฒนาเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ


1.ความเป็นมาของโครงการ
                1.1 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2548 เห็นชอบแผนทิศทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government Roadmap) และมอบหมายให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารดำเนินการเพื่อบูรณาการระบบเครือข่ายสารสนเทศภาครัฐ(Network Infrasture)
                1.2 ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546   
หมวด 7  การอำนวยความสะดวกและสนองตอบความต้องการของประชาชน
                      มาตรา 39 ให้ส่วนราชการจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่จะสามารถติดต่อสอบถามหรือขอข้อมูล หรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ
                      ระบบเครือข่ายสารสนเทศตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดทำในระบบเดียวกับที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจัดให้มีขึ้นตาม มาตรา 40
                      มาตรา 40 เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่ประชาชนในการติดต่อกับส่วนราชการทุกแห่ง ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศกลางขึ้น
                      ในกรณีที่ส่วนราชการใดไม่อาจจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการได้ อาจร้องขอให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารดำเนินการจัดทำระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการดังกล่าวก็ได้ ในการนี้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะขอให้ส่วนราชการให้ความช่วยเหลือด้านบุคลากร ค่าใช้จ่าย และข้อมูลในการดำเนินการก็ได้
                1.3การพัฒนาเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐถูกจัดให้เป็นนโยบายสำคัญด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารภาครัฐมาทุกรัฐบาล และนโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบัน ได้กำหนดนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อ 4.5.1พัฒนาโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมพื้นฐานให้ครอบคลุมทั่วประเทศ และสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการสื่อสารอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อให้ประชาชน ชุมชน และองค์กรต่าง ๆ สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารและความรู้ได้อย่างทั่วถึง และสนับสนุนการพัฒนาประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ รวมทั้งพัฒนาบริการสื่อสารที่ทันสมัย เพื่อรองรับความต้องการของภาคธุรกิจ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการให้บริการภาครัฐ บริการการศึกษา บริการสาธารณสุข และโลจิสติกส์ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

             นอกจากนี้แผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2552- 2554 ตามนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศภายใต้นโยบายด้านเศรษฐกิจ ได้กำหนดเป้าหมายเชิงนโยบาย ตัวชี้วัดและกลยุทธ์ ดังนี้

เป้าหมายเชิงนโยบาย
ตัวชี้วัด
1. นำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการบริหารและบริการภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง
ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้งานระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 45
หน่วยหน่วยงานภาครัฐระดับจังหวัดและส่วนกลางสามารถเข้าถึงโครงข่ายสารสนเทศภาครัฐ และเชื่อมโยงข้อมูลอย่างเป็นระบบได้ภายในปี 2554

นโยบาย
กลยุทธ์/วิธีการ
1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นโครงข่ายหลักสนับสนุนการพัฒนาประเทศไทยไปสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาช่วยลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเขตเมืองและชนบท และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ
ขยายและเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้ครอบคุลม ทั่วถึง และทันสมัย รวมทั้งพัฒนาโครงข่ายสื่อสารเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ
2.ความคืบหน้าโครงการ
   2.1 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาและติดตั้งเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐเพื่อเป็นเครือข่ายสารสนเทศกลางภาครัฐโดยได้ดำเนินการแล้ว 1,004 หน่วยงาน การดำเนินช่วงระยะเวลาตั้งแต่ พ.ศ 2549 2552 ได้รับจัดสรรงบประมาณทั้งสิ้น 690 ล้านบาท โดยปี พ.ศ. 2548 จำนวน 160 ล้านบาท ปี พ.ศ. 2550 จำนวน 260 ล้านบาท และปี พ.ศ. 2551 จำนวน 270 ล้านบาท จึงมีส่วนราชการส่วนภูมิภาคอีกไม่น้อยกว่า 6,000 หน่วยงานที่ยังไม่ได้ดำเนินการ  ซึ่งหน่วยงานราชการสามารถใช้ประโยชน์เครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐในการสื่อสารระหว่างระบบงานที่หลากหลาย ปัจจุบันส่วนราชการต่าง ๆ ได้ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐในระบบงานที่สำคัญ ๆ สรุปได้ ดังนี้
                        1) ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Government Fiscal Management Information System : GFMIS) การเบิกจ่าย-นำส่งงบประมาณผ่านระบบ GFMISกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ร่วมมือกับกระทรวงการคลังในการส่งเสริมให้ส่วนราชการใช้เครือข่าย GIN ในการเบิกจ่ายงบประมาณผ่านระบบ GFMIS โดยมีสำนักงานที่ดินจังหวัด กรมที่ดิน เป็นหน่วยงานนำร่อง ปัจจุบันสามารถเชื่อมโยงใช้งานทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยัง
มีหน่วยงานอื่นที่ใช้ระบบ 
GFMIS ผ่านเครือข่าย GIN เพิ่มขึ้นอีกเช่น สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด สำนักงานสถิติจังหวัด ทั้งนี้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อขยายผลให้ครอบคลุมหน่วยงานต่างๆ ต่อไป และเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2553 กระทรวงฯ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการบูรณาเครือข่าย GIN กับระบบบริหารการเงินการคลังแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) กับกระทรวงการคลัง และสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมที่ดิน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และสำนักงานสถิติแห่งชาติ
  2) ระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ ระหว่างราชการส่วนภูมิภาคกับราชการส่วนกลางเพื่อช่วยให้สามารถประหยัดงบประมาณและประหยัดเวลา โดยมีส่วนราชการที่ใช้ระบบ เช่น  กรมการขนส่งทางบกและสำนักงานขนส่งจังหวัด  กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระหว่างที่ว่าการอำเภอกับศาลากลางของจังหวัดชุมพร และระหว่างที่ว่าการอำเภอชายแดนกับศาลากลางของจังหวัดน่าน เป็นต้น
          3) ระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่ายให้บริการ (Web Server) โดยใช้เครือข่าย GIN ในการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่ายของสำนักงานจังหวัดต่างๆ เพื่อให้บริการข้อมูลข่าวสารสู่สาธารณะด้วย website ของจังหวัด รวมทั้งเป็นช่องทางสายด่วนผู้ว่าราชการจังหวัด โดยมีส่วนราชการที่ใช้เครือข่าย เช่น จังหวัดชลบุรี จังหวัดหนองคาย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดชุมพร รวมทั้ง จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงไปยังศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นต้น
          4) ระบบการสื่อสารด้วยเทคโนโลยี (Voice Over Internet Protocol : VOIP) บนเครือข่าย GIN เพื่อการประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่ายด้านการสื่อสารโทรศัพท์ทางไกลและยังสามารถเพิ่มการใช้งานได้มากกว่าโทรศัพท์  เช่น ระบบสายด่วน 1784 สามารถให้บริการแก่ประชาชนในการแจ้งเหตุในพื้นที่และระบบจะเชื่อมต่อการแจ้งเหตุระหว่างสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดทั่วประเทศกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  ปัจจุบันกระทรวงฯ ได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมเพื่อขยายผลการใช้ประโยชน์ให้กับทุกหน่วยงาน
          5) ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านสถิติระหว่างสำนักงานสถิติแห่งชาติและสำนักงานสถิติจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งมีความปลอดภัยสูงเนื่องจากเป็นการใช้งานแบบเครือข่ายภายในภาครัฐ (Intranet) และสามารถใช้งานแบบ Internet ได้เช่นเดียวกับระบบ GFMIS โดยผ่านศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารส่วนกลางทำให้สามารถควบคุมและตรวจสอบการใช้งานให้เหมาะสมได้
         6) ระบบการเชื่อมโยงข้อมูลในกระบวนการยุติธรรมของศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกระบวนการยุติธรรม  (Data Exchange Center: DXC)ระหว่างหน่วยงานของกระทรวงยุติธรรมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมการปกครอง สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด  เป็นต้น
         7) ระบบ e-Logistics เชื่อมโยงข้อมูลเพื่อการนำเข้าและส่งออกระหว่างหน่วยงานด้วยเครือข่ายสารสนเทศกลางภาครัฐ GIN แบบ Intranet โดยมีหน่วยงานที่เข้าใช้ระบบ เช่น กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมประมง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  กรมปศุสัตว์  เป็นต้น

      8) ระบบสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้เครือข่าย GIN เป็นเส้นทางการแลกเปลี่ยนข้อมูลข้ามหน่วยงานระหว่างระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานปลัดกระทรวงทุกกระทรวง และหน่วยงานในสังกัดรวมทั้งสิ้น 40 หน่วยงาน โดยได้จัดทำข้อตกลงความร่วมมือกันที่จะใช้เครือข่าย GIN ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลดังกล่าวด้วย
                      9) ระบบงานด้านประกันสังคม ใช้เครือข่าย 
GIN เพื่อเชื่อมโยงและรับส่งข้อมูลระหว่างสำนักงานประกันสังคมและสำนักงานประกันสังคมจังหวัดทั่วประเทศ
         10) ระบบงานจัดการเรื่องราวร้องทุกข์สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีใช้เครือข่าย GIN เพื่อเชื่อมโยงกับหน่วยงานระดับกรมและสำนักงานจังหวัดต่างๆ รวม 132 หน่วย
         11) ระบบงานด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ใช้บริการผ่านเครือข่าย GIN เชื่อมโยงไปยังสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
         12) ระบบงานข้อมูลทะเบียนที่ดินและอาคารชุด รายการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน(การซื้อขาย จำนองฯ) ของอสังหาริมทรัพย์ จากกรมที่ดินส่งให้กรมธนารักษ์เพื่อการจัดทำราคาประเมินอสังหาริมทรัพย์ประกอบการจัดเก็บค่าธรรมเนียม ภาษีอากร ของสำนักงานที่ดินและธนารักษ์พื้นที่ทั่วประเทศ
   2.2 สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ดำเนินการจัดทำแผนการพัฒนาเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐโดยมีการศึกษาความต้องการและความเหมาะสมของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้มีการประชุมหารือกับทุกส่วนราชการทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อวางระบบเครือข่ายให้เกิดประโยชน์  ลดความซ้ำซ้อนในการลงทุนสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงาน ซึ่งสำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้นำผลการประชุมหารือดังกล่าวไปทบทวน ปรับปรุงในการขยายการพัฒนาระบบเครือข่าย GIN   
    2.3 ปัจจุบันส่วนราชการต่างๆ ได้ขอความอนุเคราะห์ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสนับสนุนการเชื่อมโยงระบบเครือข่าย GIN จำนวนกว่า ๒,๐๐๐ หน่วยงาน เช่น สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพลังงาน กรมที่ดิน สำนักงานศาลยุติธรรม เป็นต้น
    2.4 ศักยภาพของเครือข่ายสื่อสารข้อมูล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น